จัดเป็นนกนางนวลแกลบที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดลำตัวพอ ๆ กับนกนางนวลทั่วไป แต่มีรูปร่างเพรียวลู่ลมตามประสานกนางนวลแกลบ แต่ก็มีขนาดใหญ่กว่านกนางแกลบด้วยกันอย่างเห็นได้ชัดเจน
มีจะงอยปากแหลมสีเหลืองที่ใช้ในการหาอาหาร ปลายปีกแหลมยาว และลักษณะเด่นอันที่มาของชื่อสามัญ คือ มีขนกระจุกบริเวณท้ายทอยเหมือนหงอน ซึ่งนอกฤดูผสมพันธุ์จะมีลายดำเปรอะเป็นขีด ๆ ตั้งแต่รอบตา แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์หงอนจะมีสีเข้ม เหมือนใส่หมวกสีดำ แลดูสะดุดตามากยิ่งขึ้น
มีถิ่นกระจายพันธุ์กว้างไกล พบได้ตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนใต้ของแอฟริกา เรื่อยมาตามริมชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจนมาถึงมหาสมุทรแปซิฟิก และรอบทวีปออสเตรเลีย รวมถึงหมู่เกาะในแถบนั้น
เป็นนกที่หากินด้วยการพุ่งตัวลงไปในทะเลจับปลากินเป็นอาหาร สามารถลงไปได้ลึกถึง 1 เมตร และบินได้ห่างจากชายฝั่งไกลถึง 10 กิโลเมตร
ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่จะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่หนาแน่ตามชายฝั่งและเกาะ โดยจะวางไข่ครั้งละ 2 ฟองบนหลุมที่ขุดขึ้นบนดิน โดยในฝูงจะมีการป้องกันตัวจากนักล่าและปกป้องซึ่งกันและกัน
ในประเทศไทย พบได้ตามอ่าวตะบูนและแหลมผักเบี้ย ในจังหวัดเพชรบุรี จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
มีขนาด 85-102 ซม. แตกต่างคือในฤดูผสมพันธุ์เขาไม่มีเปีย และปากสีดำ ลักษณะทั่วไปจะมีขนาดใหญ่ ขนขาวปลอดทั้งตัว คอยาว ปากยาวสีเหลือง ปลายปากแหลม ตาเหลือง หนังตาเหลือง ขาและนิ้วเท้าสีดำ เว้นแต่ช่วงผลัดขนชุดผสมพันธุ์ในหน้าฝน จะมีขนประดับยาวย้วยแถบขนคอ หลังและใกล้หาง แต่ไม่มีเปีย และปากจะเปลี่ยนเป็นสีดำสนิท หนังหน้าสีเขียวหรือสีฟ้า ขาแดงคล้ำโดยเฉพาะน่อง ตีนดำเหมือนเดิม นกยางโทนใหญ่หากินเป็นฝูง
เป็นนกประจำถิ่น พบทั่วทุกภาคในประเทศไทย ใกล้แหล่งหากินแถวๆริมน้ำ หนอง บึงบ่อ สระ ทะเลสาบ อาหารเป็นสัตว์น้ำขนาดเล็กๆทุกชนิด และแมลง เสียงร้อง “กร้า.ก.ก”ตัวผู้และตัวเมียช่วยกันทำรังด้วยกิ่งไม้สานกันตามกิ่งก้านต้นไม้ มีแอ่งเล็กๆตรงกลาง วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ผลัดกันฟักราวๆ 25 วัน ชอบอยู่และออกหากินเป็นฝูง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535
ปากโค้งยาวประมาณ 2 เท่า ของความยาวหัว คิ้วและแถบกลางกระหม่อมสีน้ำตาลแกมเหลือง แถบเหนือคิ้วดำชัดเจน ขนลำตัวสีน้ำตาลแกมเหลือง ขระบินหลังน้ำตาลเข้มเกือบดำ ชนิดย่อย N.p.phaeopus : ตะโพกขาว หางมีแถบดำพาดหลายแถบ ชนิดย่อย N.p.variegatus : ตะโพกแกมน้ำตาลดูกลืนเป็นสีเดียวกับหลัง
ถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง : พบตามแหล่งน้ำจืดในแผ่นดิน มีรายงานการพบในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ หนองกระโห้ จังหวัดตาก อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร และอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
แหล่งอ้างอิง : คู่มือศึกษาธรรมชาติหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย ปี 2555 และหนังสือนกในเมืองไทย เล่ม 3 รศ.โอภาส ขอบเขตต์